โดนสบประมาทเมื่อไร...ให้นึกถึง
แอ๊ปเปิ้ลสีแดง
เมื่อ
ลีโอ เบอร์เน็ตต์ เปิดบริษัทโฆษณาของเขาในปี ค.ศ. 1935 ช่วง
เศรษฐกิจตกต่ำนั้น
คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในชิคาโกดูหมิ่นเบอร์เน็ตต์ว่า
บริษัทของเขาจะล้มไม่เป็นท่าอย่างแน่นอน
เขาจะต้องไปขายแอ๊ปเปิ้ลที่ริมถนนเป็นแม่นมั่น
สิ่งที่
ลีโอ เบอร์เน็ตต์ ทำก็คือวางแอ๊ปเปิ้ลกองหนึ่งบนโต๊ะต้อนรับ
พนักงานและใครก็ตามที่มาเยือนบริษัทสามารถหยิบแอ๊ปเปิ้ลนั้นไปกินได้ทุก
เมื่อมาถึงวันนี้
ลีโอ เบอร์เน็ตต์ เป็นเอเจนซีโฆษณาใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
มีสาขาทั่วโลก
สร้างสรรค์งานดีๆ จำนวนนับไม่ถ้วน
และแอ๊ปเปิ้ลสีแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ของการไม่ยอมแพ้
เมื่อไม่ยอมรับชะตากรรมที่คนอื่นกำหนดให้
และทำงานหนัก
ก็สามารถลบคำสบประมาทได้ด้วยตัวมันเอง
----
ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งสอง
กองทัพเยอรมนีกวาดยุโรปราบอย่างรวดเร็ว
ประเทศอังกฤษพลันพบว่าตนเองรบอย่างโดดเดี่ยว
นายกรัฐมนตรี
วินสตัน เชอร์ชิลล์ ประกาศต่อสู้จนเลือดหยดสุดท้าย
กลางความท้อแท้ของชนทั้งชาติ
เสียงของเชอร์ชิลล์ผ่านวิทยุกระจายเสียงให้กำลังใจผู้คน
ปลุกขวัญให้สู้กับอำนาจที่มาราวี
เมื่อทั้งชาติตั้งปณิธานไม่ยอมแพ้อย่างเด็ดขาด
พวกเขาก็กลายเป็นน้ำน้อยที่เอาชนะ
ไฟกองใหญ่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
----
ในชีวิตของเราจะได้ยินคำสบประมาทในรูปต่างๆ
เสมอ
"อย่าเปิดร้านตรงนี้เลย
เห็นเจ๊งมาหลายรายแล้ว"
"อยู่ดีๆ
ทำไมต้องไปดิ้นรนให้เหนื่อยกว่านี้?"
"จะไหวหรือ?"
หาก
ลีโอ เบอร์เน็ตต์ และ วินสตัน เชอร์ชิลล์ เชื่อฟังคำเหล่านี้
ป่านนี้โลกอาจไม่ใช่โลกเสรีนิยมที่เรารู้จัก
ร้านอื่นเปิดแล้วเจ๊งไม่ได้หมายความว่าทุกร้านที่ตรงนี้จะต้องเจ๊ง
เศรษฐกิจตกต่ำก็มิได้หมายความว่า
ทุกกิจการต้องหดถอยห่อเหี่ยว
ทว่าคำวิพากษ์ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป
หากรู้จักใช้มัน ไม่ให้มันใช้เรา
ใช้คำวิพากษ์เป็นเครื่องกระตุ้นให้ใจฮึกเหิม
มีมานะสู้ต่อไป
ใช้คำวิจารณ์เป็นการเตือนสติตัวเอง
แก้จุดอ่อนที่ผู้อื่นชี้ให้เห็น
การทำงานอย่างไม่ประมาทบวกกับความไม่ยอมแพ้และความมานะพยายาม
เอาชนะคำสบประมาททั้งหลายได้มากต่อมากแล้ว
----
Credit
: หนังสือ สองแขนที่กอดโลก / life 101