Welcome

Innovation distinguishes between a leader and a follower.

" นวัตกรรมแยกผู้นำกับผู้ตามออกจากกัน " Steve Jobs


สวัสดีครับ บทความต่อจากนี้ จะเป็น เทคนิคเกี่ยว กับ WEB DESIGN ADVANCE    ซึ่งผมจะเขียน เรื่อยๆ ถ่ายทอดจาก ประสพการณ์ จริง บวกกับ ความรู้ที่ได้จากการ ไปสัมนา หรือเรียน จากที่ต่างๆ

ก่อนจะเข้าเนื้อหา ขอเกริ่นนำนิดหน่อยก่อนนะครับ ปกติแล้ว สายงานที่เกี่ยวข้องกับ Web นั้น มีมากมายหลายตำแหน่ง แต่ที่พอจะสรุปคร่าวๆ ได้ มีดังนี้ครับ 

สายเว็บไซต์ (Website)
- Web Programmer / Web Developer ทำหน้าที่พัฒนาแอพลิเคชั่น
- Web Designer ทำหน้าที่ออกแบบความสวยงานของเว็บไซต์
- Web Content ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลก่อนนำมาใส่ลงเว็บไซต์
- Web Marketing ทำหน้าที่ทำการตลาด ทำรายได้ให้ตัวเว็บไซต์สร้างมูลค่าขึ้นมาได้
- Web Master / Web Manager ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมเว็บ
- E-Commerce Developer พัฒนาระบบหน้าร้านขายของ
- Creative Web Designer
- Senior Web Designer
- Flash Programmer เน้นพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วย Action Script



























Web Design เป็นสาขางานดีไซน์ที่ไม่เหมือนกับสาขาอื่นๆ เพราะสื่อของเว็บไม่ใช่กระดาษ แต่เป็นหน้าจอใดๆที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การออกแบบเว็บไซต์ มีสิ่งที่ต้องคำนึงนอกเหนือไปจากความสวยงามอีก เช่น การใช้งาน และการรองรับการแสดงผลในหลายๆขนาดหน้าจอ และในทุกๆบราวเซอร์ ยิ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อ Internet ได้มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เราต้องเขียนให้สะดวกกับผู้ใช้ในทุกๆอุปกรณ์ให้มากที่สุดตามไปด้วย และจุดนี้เองที่ทำให้เราต้องหันมาสนใจ HTML & CSS กันอย่างจริงจังสักที
การเขียน Code เหมือนเป็นยาขมของ Web Designer ที่ต้องทำใจกลืนมันลงไป จริงๆแล้วในมุมมองของผม คิดว่า html กับ css ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจเลย เพราะมันเป็นภาษาที่เขียนแล้วแสดงผลออกมาทันที แบบผิดตรงไหนก็หาจุดที่ต้องแก้ได้ง่ายกว่า php หรือ javascript เยอะ จุดนี้ไม่พูดมากดีกว่า เดี๋ยวจะมีคนตัดพ้อว่า ก็เรียนสายโปรแกรมเมอร์มา ก็ต้องบอกว่าเขียนโปรแกรมง่ายอยู่แล้วสิ อะไรแบบนั้น เหอๆ




ทำไม Web Designer ควรเขียน HTML & CSS เอง

ถ้ามีคนแย้งว่า ทำไมหน้าที่การขึ้นหน้าเว็บด้วย HTML ต้องเป็นงานของ Web Designer ไม่ใช่งานของ Programmer เหรอ เราก็อยากบอกว่า โปรแกรมเมอร์ไม่สามารถเข้าใจได้หรอกว่า คนดีไซน์จริงๆแล้วต้องการอะไร แบบไหน อย่างไร ( อันนี้รู้เพราะว่าตัวเองก็เป็น Programmer อยู่ด้วย )  ยิ่งตัวเว็บยิ่งมีความละเอียดมาก เค้าก็ยิ่งไม่เข้าใจ สุดท้ายงานที่ออกมามักจะไม่เหมือนหน้าตาที่เราดีไซน์ไว้ซะทีเดียว แล้วแบบนี้ไม่ดีกว่าเหรอ ที่เราจะเขียนเว็บส่วนที่เป็นการแสดงหน้าตาเอง โดยไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์ แถมออกมาสวยงามสมใจเราอีกต่างหาก โปรแกรมเมอร์เองก็เอาเวลาส่วนนั้นไปพัฒนาระบบอื่นๆได้อีกด้วย

แล้วจะเริ่มต้นเขียน HTML & CSS อย่างไรดี

เราอาจจะเริ่มที่ลองไปอ่านพื้นฐานของ html และ css ก่อน ที่ http://www.w3schools.com/ เว็บนี้รวมทุกอย่างไว้แล้ว แล้วก็มั่นใจว่าตรงตามมาตรฐานแน่นอน  แนะนำให้เรียน html ก่อนเพราะเราจำเป็นต้องรู้จัก tag พื้นฐานใน html เอาไว้ใช้ใน css   เบื้องต้นเอาแค่ให้เราอ่านเป็นก่อนว่า โค้ดเขียนแบบนี้หมายถึงอะไร จากนั้นก็ลองแก้ดูศึกษาไปเรื่อยๆ พอถึงจุดที่เราเริ่มรู้จัก tag พื้นฐานแล้ว ก็เริ่มเขียนเองเว็บง่ายๆดูสักเว็บ แต่ต้องเขียนเองทั้งหมดตั้งแต่ต้น ไม่แนะนำให้ใช้พวก CSS framework เช่น 960.gs มาใช้ตั้งแต่ช่วงหัดเขียน เพราะจะทำให้เราขึ้น layout เองไม่เป็น แต่พอเราเขียนได้แล้วค่อยเอา framework มาใช้ก็ไม่เสียหายอะไรครับ
พอถึงจุดหนึ่งที่เราเริ่มคุ้นเคยกับการเขียนโค้ดพวกนี้แล้ว เราก็จะไปต่อกับมันได้เรื่อยๆครับ แล้วจะค้นพบว่าการเขียน CSS สนุกไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งมี CSS3 ออกมาให้ลองเล่น ยิ่งมีอะไรน่าลองเล่นเพิ่มมากจากเดิมอีกเยอะเลยครับ

ตำแหน่งใหม่! CSS Designer

กระแสของการให้ Web Design เขียนโค้ดเองเริ่มมาหลายปีแล้วในเมืองนอก ส่วนบ้านเราเราพึ่งจะเริ่มเห็นเมื่อราวๆปีที่ผ่านมานี่เอง  สังเกตง่ายๆจากการเริ่มเห็นชื่อตำแหน่งใหม่ของสาย web design คือ CSS Designer ก็คือ Web Designer ที่สามารถเขียน CSS ได้ด้วยนั่นเอง ช่วงนี้เห็นเปิดรับสมัครตำแหน่งนี้กันเยอะมาก โดยเฉพาะบริษัทที่ทำด้านเว็บไซต์ทั้งหลาย เรียกได้ว่าถ้าเราออกแบบเว็บได้ และเขียน CSS ได้ โอกาสตกงานก็แทบจะไม่มีเลยทีเดียว น่าสนใจศึกษากันมั้ยล่ะทีนี้




 
JUNCTION X © 2013. All Rights Reserved. Powered by Blogger
Top