Welcome

Innovation distinguishes between a leader and a follower.

" นวัตกรรมแยกผู้นำกับผู้ตามออกจากกัน " Steve Jobs




ในระหว่างที่โลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทางด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ก็มีวิวัฒนาการของเครือข่ายอินเตอร์ เน็ตที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยปราศจากข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายเช่นกัน โลกของการใช้คอมพิวเตอร์ในวันนี้จึงกำลังจะก้าวไปสู่รูปแบบการเชื่อมโยง ข้อมูลจากหลาย ๆ ที่และในเวลาเดียวกันด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ผ่านอินเตอร์เน็ต และนำงานหลายร้อยงานมาวิ่งในเครื่องเหล่านั้น เทคโนโลยีที่กำลังกล่าวถึงนี้ ถูกเรียกว่า “Cloud Computing (คลาวด์ คอมพิวติ้ง)” ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากที่ใดก็ได้ในโลก …
วันนี้ผู้ที่ทำงานในแวดวงไอทีคงจะเคยได้ยินการพูดถึง “เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง” กันมาบ้างไม่มากก็น้อย และคงเริ่มเห็นถึงอิทธิพลของก้อนเมฆกลุ่มนี้แล้วว่าเข้ามามีบทบาทกับการใช้ งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตลอดจนด้านธุรกิจอย่างไร …ลองจินตนาการ จะดีแค่ไหน หากเราสามารถทำงาน สนทนา หรือมีปฏิสัมพันธ์กับทุกคน ได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์สื่อสาร ไม่ว่าจะผ่านจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทั้งในรูปแบบการบริการแบบสาธารณะและแบบส่วนบุคคล เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกมุมโลกที่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าถึง ตราบเท่าที่เรามียูสเซอร์ (User) และพาสเวิร์ด (Password) เราก็จะได้รับบริการข้อมูลที่มหัศจรรย์ราวกับว่าโลกทั้งโลกเป็นของเรา อยากได้อะไร มันก็หลั่งไหลลงมาราวกับลงมาจากท้องฟ้า ด้วยโครงสร้างไอทีขนาดใหญ่ที่ขยายตัวได้ไม่จำกัด นั่นคือที่มาของคำว่า “คลาวด์” หรือ “ก้อนเมฆ” แนวความคิดทางด้านการประมวลผลแบบใหม่ที่เก็บเอาบริการต่างๆ ไว้มากมายให้เราเลือกได้ตามต้องการ








แนวความคิดของ Cloud Computing เป็นการเข้าใช้บริการจากระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่กระจาย การให้บริการอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านตัวกลางคือบราวน์เซอร์ (Browser) โดยที่ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนมากมายในการจัดการทรัพยากรโครงสร้าง พื้นฐานด้านไอที จุดเด่นของคลาวด์ คอมพิวติ้ง คือ การให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้และคิดค่าบริการตามที่ใช้งานจริง หรือที่เรียกว่า On Demand โดยผู้ใช้บริการสามารถล็อกอิน (Login) เพื่อขอใช้บริการจากระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งของผู้ให้บริการ ผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องมือเชื่อมต่อต่าง ๆ จึงนับว่าเป็นการลดต้นทุนทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ค่าลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ทางด้านไอที ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ใช้งานที่มีความต้องการในการใช้งานที่ไม่เท่ากัน จะช่วยให้ประหยัดด้านการลงทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์การใช้งาน (Multi-Tenancy) รวมถึงช่วยลดภาระการจ้างบุคลากรผู้ดูแลระบบ เพราะคลาวด์ คอมพิวติ้งได้รับการออกแบบการบริการให้มีความยืดหยุ่นสามารถจัดการหรือปรับ เปลี่ยนคุณสมบัติได้ง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้
งานและไม่จำเป็นต้องใช้วิศวกรที่มีความสามารถสูง ทั้งยังเปิดโอกาสให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจทุกขนาดเข้าถึงได้ จึงช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการทุกราย
ด้วย ประโยชน์ของการใช้บริการบนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง นี้เอง ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจและนำคลาวด์ คอมพิวติ้งไปประยุกต์ปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตน จากบริการบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งที่มีอยู่อย่างหลากหลาย เช่น บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน พร้อมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Infrastructure as a service) 
บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์นานาชนิด (Software as a service) ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรไอทีขนาดใหญ่มาก เป็นต้น




ระบบ Cloud Computing ไม่ได้เปลี่ยนการขั้นตอนทำงานของคุณในแต่ละวันไป แต่เพียงจะเปลี่ยนรูปแบบการประมวลผลสำรอง และการเรียกข้อมูลจากเดิมคือ จากที่เราใช้ ระบบ Server ขององค์กรเราจะใช้ Server หรือระบบต่างๆ ในอินเตอร์เน็ตแทน

     บริการของ Cloud หลักๆ เป็น 2 ประเภทคือ Cloud Computing เป็นการรันหรือประมวลผลระบบสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กับ Cloud Storage จะเป็นการเก็บข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
     จริงๆการทำงานคร่าวๆของ Cloud computing จะแบ่งออกได้ 2 ฝั่ง คือ Client กับ Server  สำหรับ Client จะไม่มีอะไรเลยนอกจากคอมพิวเตอร์เล็กๆ ตัวเดียว แต่ฝั่ง Server มีอะไรมากมายเต็มไปหมด สำหรับ Client ใช้ Internet Browser สักตัวมาเปิดแล้วก็ทำงานได้เลย ทำให้คุณไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรมากมายให้หนักเครื่องอีกต่อไป




[News] เทคโนโลยี Cloud Computing และ GIS


ตัวอย่างบริการแอพพลิเคชั่นบน Cloud Computing
     Google Apps คือตัวอย่าง Cloud Computing ที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดจนหลายๆคนอาจมองข้าม นี้คือสิ่งที่ Google ทำให้เราเห็นว่าของฟรีและดียังมีในโลกครับ ถ้าคุณได้เคยใช้ Google Apps ในการจัดการเอกสารต่างๆ เช่น Google Docs แล้วแสดงว่าคุณก็เคยผ่าน Cloud Computing
     ด้านไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Windows Azure วินโดวส์เวอร์ชั่นใหม่ที่รันบนอินเทอร์เน็ตที่ถูกหมายมั่นปั้นมือให้เป็น Cloud OS โดย Windows Azure สนับสนุนเทคโนโลยีหลักของไมโครซอฟท์เช่น .NET Framework และ Visual Studio 2008 ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ Windows Azure เป็นแพลตฟอร์มหรือรูปแบบมาตรฐานของเทคโนโลยี Cloud Computing เหมือนกับที่วินโดวส์โมบายล์ (Windows Mobile) เป็นแพลตฟอร์มของโปรแกรมบนโทรศัพท์ ไมโครซอฟท์ ได้แก่ ชุดซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ทั้ง Microsoft Word และ Excel รวมถึง Exchange และ Share Point ในรูปแบบออนไลน์โดยผู้ใช้สามารถใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องพีซีซึ่งไมโครซอฟท์คาดหวังที่จะให้บริการโปรแกรมออฟฟิศออนไลน์ชนิดเต็มรูปแบบ ตั้งแต่โปรแกรมที่ทันสมัยมากที่สุดจนถึงเวอร์ชั่นธรรมดา
ตัวอย่าง Cloud Storage เชิงพาณิชย์
•           Amazon S3 (หรือชื่อเต็ม Amazon Simple Storage Service)
•           Apple’s Mobileme (มีให้ทดลองใช้ฟรี 60 วัน)
•           Symantec’s SwapDrive
•           MOSSO – The Hosting Cloud
•           Box.net (มีให้ทดลองใช้ฟรี 14 วัน)
•           Nirvanix SDN (หรือชื่อเต็ม Nirvanix Storage Delivery Network)
ตัวอย่าง Cloud Storage แบบฟรี (อย่าลืมว่า “ฟรีแบบจำกัด” !)
•           BingoDisk จาก Joyent (ฟรี 2 GB)
•           Microsoft’s SkyDrive (ฟรี 5 GB)
•           XDrive (ฟรี 5 GB)
•           Humyo (ฟรี 25 GB สำหรับรูปภาพและวิดีโอ และอีก 5 GB สำหรับไฟล์ชนิดอื่นๆ)
•           ADrive (ฟรี 50 GB)


•           Drop box (ฟรี 2GB)

     ถ้าเรามาลองนึกถึงอนาคต Notebook คงไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะ Cloud Computing ทำหน้าที่แทนให้เกือบหมด ดังนั้นเราจะแบก Notebook หนัก  กันไปทำไม ใช้แค่ Netbook เล็กๆสักตัวก็พอ ... นึกๆดูก็คิดถึงอนาคตที่จะเล่นเกมระดับ Hi-Def บนเครื่อง Netbook อ่อนๆ โดยให้ Server ประมวลผลเกมแล้วส่งภาพมาทาง Internet ลงบนจอ Netbook ได้ คงจะดีน่าดูเลย !!




          ข้อดี
  1. ลดต้นทุน – ค่าดูแลรักษา เช่น ค่าจ้างพนักงาน, ค่าซ่อมแซม, ค่าลิขสิทธิ์, ค่าไฟ/ค่าแอร์, ค่าอัพเกรด เป็นต้น
  2. ลดความเสี่ยงจากการลงทุนในระยะยาว
  3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่ม/ลดระบบและความต้องการได้
  4. เปรียบเสมือนได้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง และมีเครือข่ายความเร็วสูง
  5. เปรียบเสมือนมีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบสารสนเทศให้เรา 24 ชั่วโมง พร้อมให้คำช่วยเหลือ และตอบคำถามได้
  6. มีความปลอดภัยกว่า Hosting ทั่ว ๆ ไป

ข้อเสีย
  1. ถ้า link ที่เชื่อมกับ internet ช้า การติดต่อกับ Cloud Computing ก็จะช้าไปด้วย
  2. รับประกันความปลอดภัย และความเชื่อมั่นไม่ได้ 100% ดั่งที่ลูกค้าอยากได้

ในปัจจุบันความสำคัญของ Cloud Computing อยู่ในระดับใดนั้น ถ้าวิเคราะห์ตามสิ่งแวดล้อมจะพบว่า      
  1. ทุกวันนี้ ข้อมูลมีเพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว
  2. ระบบเทคโนโลยีแบบเดิมนอกจากจะรองรับไม่เพียงพอแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
  3. เพราะเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การลงทุนในเทคโนโลยีแบบติดตั้งถาวรย่อมไมคุ้มอย่างแน่นอน

รูปแบบการให้บริการ 3 อย่างของ Clouds computing
Infrastructure-as-a-Service เช่น Amazon Web Services ให้แม่ข่ายเสมือน instanceAPI เพื่อเริ่มต้น หยุด เข้าถึงการคอนฟิกแม่ข่ายและที่จัดเก็บเสมือนของแม่ข่ายในระดับวิสาหกิจ cloud computing ยอมให้บริษัทจ่ายตามความปริมาณการใช้และนำไปสู่การออนไลน์ตามความต้องการ เพราะแบบจำลองการจ่ายตามการใช้ (pay-for-what-you-use) นี้แยกการบริโภคไฟฟ้า พลังงาน และน้ำ บางครั้งเรียกว่า utility computing
Platform-as-a-Service ใน Cloud ได้รับกำหนดเป็นชุดของเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์และผลิตภัณฑ์ ผู้พัฒนาสร้างโปรแกรมประยุกต์บนแพล็ตฟอร์มของผู้ให้บริการบนอินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการ PaaS อาจจะใช้ API การติดตั้ง website portal หรือ gateway บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ผู้พัฒนาต้องทราบว่าปัจจุบันไม่มีมาตรฐานสำหรับความสามารถปฏิบัติงานภายในหรือความกะทัดรัดของข้อมูลใน Cloud ผู้ให้บริการบางรายจะไม่ยอมให้ซอฟต์แวร์ที่สร้างโดยลูกค้าออกไปจากแพล็ตฟอร์มของผู้ให้บริการ
Software-as-a-Service ผู้จำหน่ายส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ผ่าน front-end portal โดย SaaS มีตลาดกว้างขวาง การบริการเป็นทุกสิ่งจากเว็บอีเมล์จนถึงการควบคุมคลังสินค้าและการประมวลผลฐานข้อมูล เพราะโฮสต์ของผู้ให้บริการทั้งโปรแกรมประยุกต์และข้อมูลผู้ใช้เป็นอิสระในการใช้ จากทุกที่

ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้บริการ Clouds computing
  • Amazon AWS
  • Eucalyptus
  • Google App Engine
  • Microsoft Azure

Clouds Microsoft
 Microsoft Office 365 เป็นโปรเจ็คล่าสุด ซึ่งเป็นชุดผลิตภัณฑ์บวกบริการแบบครบวงจรสำหรับองค์กรธุรกิจที่ต้องการซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในสำนักงาน โดยไมโครซอฟท์ได้เริ่มขั้นตอนของการทดสอบกับธุรกิจขนาดเล็กและองค์กรบางแห่งกว่า 6 หมื่นองค์กรที่กำลังรอการทดสอบ ในระหว่างนี้ไมโครซอฟท์ได้พยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับสินค้าและขยายกลุ่มของการทดสอบให้กว้างขึ้น ทั้งในระดับเดียวกันและองค์กรที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดย Microsoft Office 365 นั้น จะเป็นการรวมร่างของผลิตภัณฑ์เดิมหลายตัว ได้แก่ Microsoft Office 2010 Professional Plus, Microsoft Exchange Online, Microsoft SharePoint Online และ Microsoft Lync Online นั่นคือแทนที่บริษัทใด ๆ จะซื้อลิขสิทธิ์ Microsoft Office แบบแยกเป็นชุด ๆ และซื้อเซิร์ฟเวอร์ Exchange และ SharePoint มาติดตั้งเอง ก็ให้เช่าใช้เวอร์ชั่นที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์แทน ซึ่งในชุดยังจะแถม Microsoft Office ที่เป็น desktop client ให้ด้วย โดย Microsoft Office 365 ยังแบ่งได้เป็น 3 รุ่นย่อยอีก ได้แก่ Office 365 for small businesses สำหรับองค์กรขนาดเล็กกว่า 25 คน โดยจะคิดค่าบริการ 6 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อคนต่อเดือน Office 365 for enterprises สำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยจะคิดค่าบริการ 2-27 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อคนต่อเดือนขึ้นกับตัวเลือก และ Office 365 for education สำหรับสถาบันการศึกษา

Announcing Office 365 เพื่อการศึกษาประกอบด้วย
Office Professional Plus
ให้ความอิสระในการทำงานแก่บุคคลในทีมตามวิธีที่ต้องการด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สมาชิกในทีมจะสามารถสร้างและแก้ไขเอกสารได้พร้อมกัน ทำให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
  • Office Professional Plus 2010 เปิดใช้งานการทำงานร่วมกันบนเว็บ ทำให้บุคคลต่าง ๆ สามารถแก้ไขกระดาษคำนวณ Excel สร้างรายงานหรือเอกสารใน Word และใส่คำอธิบายประกอบในสมุดบันทึก OneNote ได้ในเวลาจริง สามารถจัดระดมสมองเพื่อปรับปรุงข้อมูล และสร้างงานนำเสนอได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเดียวกัน
  • Office Professional Plus 2010 ให้บุคคลในทีมสามารถจัดการอีเมลของตนด้วยเครื่องมือการจัดการการสนทนาที่สามารถเอาข้อมูลที่ซ้ำกันออกและทำหน้าที่เหมือน “ปุ่มปิดเสียง” สำหรับกล่องจดหมายเข้า
  • Office Professional Plus 2010 ช่วยให้บุคคลในทีมสามารถประหยัดเงินและเวลาได้ด้วยการจัดเตรียมการติดต่อสื่อสารเพียงคลิกผ่าน Unified Communications และสามารถใช้เอกสารร่วมกันได้ในเวลาจริงภายใน Word, PowerPoint และ Excel โดยที่ไม่ต้องสลับโปรแกรมประยุกต์
Exchange Online
            เป็นองค์กรที่มีบริการจัดส่งข้อความที่ให้ประโยชน์ของบริการอีเมลแบบ Cloud ที่มีความสามารถที่แข็งแกร่งในสถานที่การใช้งานของ Microsoft Exchange Server กับ Exchange Online ลูกค้าจะได้รับขนาดของกล่องจดหมายขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข้ามเครื่องคอมพิวเตอร์, เว็บและโทรศัพท์มือถือ กลายเป็นแบบออนไลน์ เป็นบริการที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความยืดหยุ่นให้กับผู้ใช้
SharePoint Online
เซิร์ฟเวอร์ Microsoft SharePoint คือ เทคโนโลยีที่เป็นบริการออนไลน์ที่ทำให้อำนาจของการทำงานของ Cloud สำหรับองค์กร SharePoint Online ช่วยให้สามารถสร้างเว็บไซต์เพื่อแบ่งปันเอกสารและข้อมูลกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าได้
คุณสมบัติ
  • จัดการและแบ่งปันเอกสารสำคัญกับเพื่อนร่วมงาน
  • แบ่งปันและการปรับปรุงสถานะข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคลกับเพื่อนร่วมงาน
  • บริหารจัดการโครงการที่สำคัญ
  • ค้นหาเอกสารสำคัญได้อย่างง่ายดาย
  • สร้างเอกสาร Microsoft Office และบันทึกโดยตรงไปยัง SharePoint Online
  • ปกป้องเนื้อหาที่สำคัญของเอกสาร
  • การเข้าถึงเอกสารสำคัญออฟไลน์โดยใช้ SharePoint Workspace
  • เปิดใช้งานการสื่อสารเรียลไทม์กับเพื่อนร่วมงานจากภายใน SharePoint Online
  • การจัดเตรียมบริการควบคุมตรวจสอบและรายงานเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการผ่านคอนโซลเดียว
Microsoft Lync Online
ซอฟต์แวร์การสื่อสาร Lync สร้างการเชื่อมต่อแบบเสมือนจริงระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลที่ทำงานด้วย ทำให้สามารถพูดคุยโดยใช้เดสก์ท็อปหรือโปรแกรมร่วมกัน และทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์จากคอมพิวเตอร์ได้



ที่มา:: 
http://www.thaigaming.com/articles/60545.htm
http://www.krapalm.com/
http://bizcom.dusit.ac.th
http://computertru.blogspot.com/2011/01/cloud-computing.html
 
JUNCTION X © 2013. All Rights Reserved. Powered by Blogger
Top