Welcome

Innovation distinguishes between a leader and a follower.

" นวัตกรรมแยกผู้นำกับผู้ตามออกจากกัน " Steve Jobs

มีปืนแล้วยิงคนตาย แบบไม่มีความผิดเลย  ก็คือยิงเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง
หรือผู้อื่น  ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง  ถ้าได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ  การกระทำนั้น
เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  ผู้นั้นไม่มีความผิด   ตามความในประมวล
กฎหมายอาญามาตรา  ๖๘ 

              จึงขออนุญาตท่าน วมต.   ลงข้อความทางกฎหมาย
เพื่ออธิบายรายละเอียดของการป้องกันตัวให้สมาชิกได้ทราบเป็นความรู้ครับ
เพราะเป็นสิ่งสำคัญกับคนมีปืน  ที่จะต้องรู้  และนำเอาไปใช้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

            หลักเกณฑ์ของการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย  ( มี ๔ ข้อ ) คือ

๑ .  มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
เช่น  มีคนมาปล้น  มาจะฆ่า  จะทำร้าย  เป็นต้น
ระวัง  หากเขามีสิทธิทำร้ายเราได้  เช่นพ่อมีสิทธิว่ากล่าว / ตีลูก   เมื่อเราทำผิดบิดามารดา
ลงโทษเรา /ตีเรา  ไม่ถือเป็นภยันตรายตามข้อ ๑ นี้  เราตอบโต้แล้วอ้างป้องกันไม่ได้
  มีฎีกา ที่ ๔๒๙/๒๕๐๕ ว่าพระตีลูกศิษย์   ลูกศิษย์ตอบโต้  ฆ่าพระ  ไม่เป็นป้องกัน

         กรณีเห็นเมียกำลังนอนกอดกับชายชู้  ถือเป็นภยันตรายที่มาละเมิดตามข้อ ๑ แล้ว
แต่ก็แยกว่า    ถ้าภริยาจดทะเบียนสมรสกับเรา   เราฆ่าชู้  เป็นป้องกัน ( ฏีกาที่๓๗๘/๒๔๗๙ )
แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียน  ไม่เป็นป้องกัน  แต่อ้างบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๒  เพื่อให้ศาลลงโทษน้อยลงได้ ( ฎีกาที่ ๒๔๙/๒๕๑๕ )

       แม้จะมีภยันตรายตามข้อ ๑ แล้วก็ตาม  แต่ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้ 
จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวขึ้นด้วย  คือ
 
-   ไม่เป็นผู้ที่ก่อภัยขึ้นในตอนแรก
เช่น ฎีกาที่ ๒๕๑๔/ ๒๕๑๙  จำเลยชกต่อยก่อน แล้ววิ่งหนี    เขาไล่ตามต่อเนื่อง
ไม่ขาดตอน  จำเลยยิงเขาตาย   อ้างป้องกันไม่ได้
-    ไม่เป็นผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทกัน
เช่นฎีกาที่ ๒๓๒๒/๒๕๒๒  จำเลยโต้เถียงกันคนตาย   แล้วก็ท้าทายกัน 
สมัครใจเข้าชกต่อยต่อสู้กัน   แม้คนตายจะยิงก่อน   แล้วจำเลยยิงสวน
ก็อ้างป้องกันไม่ได้
-    ไม่เป็นผู้ที่ยินยอมให้ผู้อืนกระทำต่อตนโดยสมัครใจ
เช่น ให้เขาลองของคุณไสย์  คงกระพัน  แล้วจะไปโกรธตอบโต้ภายหลัง
อ้างป้องกันไม่ได้
-    ไม่เป็นผู้ที่ไปยั่วให้คนอื่นเขาโกรธก่อน
เช่นไปร้องด่าพ่อแม่  ด่าหยาบคายกับเขาก่อน  พอเขาโกรธมาทำร้ายเรา
เราก็ตอบโต้  เราอ้างป้องกันไม่ได้

๒.  เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
เช่น เขากำลังจะยิงเรา  เราจึงต้องยิงสวน 
ฎีกาที่ ๒๒๘๕ / ๒๕๒๘  จำเลยกับคนตายคุยตกลงกันเรื่องแบ่งวัว  จำเลยชวน
ให้ไปคุยตกลงกันที่บ้านกำนัน   คนตายไม่ยอมไป   กลับชักปืนออกมาจากเอว
จำเลยย่อมเข้าใจว่าจะยิงตน   จึงยิงสวน   ๑ นัด  เป็นป้องกัน
ฎีกาที่ ๑๗๓๒ /๒๕๐๙  คนตายชักมีดพกจากเอวมาถือไว้ แล้วเดินเข้ามาหาจำเลย
ระยะกระชั้นชิด  จำเลยยิงสวน ๑ ที   คนตายยังเดินต่อเข้ามาอีก  จึงยิงสวน อีก ๑ ที
ล้มลงตาย  เป็นป้องกันสมควรแก่เหตุ
ฎีกาที่  ๑๗๔๑/ ๒๕๐๙  คนตายจับมือถือแขนคู่หมั้นจำเลย   พอจำเลยมาเห็น
คนตายก้มหยิบมีดพร้าที่วางใกล้ๆ  ยาว ๑๒ นิ้ว   ด้ามยาวอีก ๑๒ นิ้ว 
แสดงว่าคนตายจะทำร้ายทันทีเมื่อหยิบมีดได้   จำเลยใช้มีดฟันตนตายไป ๑ ที
ป้องกันพอแก่เหตุ
ฎีกาที่๑๖๙ / ๒๕๐๔ คนตายเมาสุราร้องท้าทายจำเลยให้มาต่อสู้กัน
จำเลยไม่สู้  คนตายถือมีดดาบปลายแหลมลุยน้ำข้ามคลอง จะเข้าไปฟันจำเลย
ถึงในบ้าน  จำเลยไม่หนีเพราะบ้านตัวเอง  และใช้ปืนยิงสวนไป ๑ นัด
ขณะที่คนตายอยู่ห่าง ๖ ศอกถึง ๒ วา   เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

 -ฎีกานี้วางหลักว่า ผู้รับภัยไม่จำเป็นต้องหลบหนีภยันตราย  ก็อ้างป้องกันได้

๓. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายนั้น
 ข้อนี้ตามที่อธิบายข้างต้นไปแล้ว

๔. ต้องเป็นการกระทำป้องกันสิทธิที่ไม่เกินขอบเขต
ไม่งั้นจะเป็นการป้องกันที่เกินสมควรกว่าเหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งการ
จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๙ ไป
ซึ่งจะทำให้ยังมีความผิดอยู่


แบบไหนไม่เกินกว่าเหตุ  ยากมากครับ  ต้องแล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้น

ฎีกาที่ ๘๒๒ / ๒๕๑๐ คนตายเป็นฝ่ายก่อเหตุก่อน จะเข้ามาชกต่อยทำร้ายจำเลย
จำเลยจึงเอาปืนยิงลงพื้นดินไป ๑ นัด เพื่อขู่ให้คนตายกลัว  แต่คนตายไม่หยุด
กลับเข้ามากอดปล้ำใช้แขนรัดคอแล้วแย่งปืนจำเลย  จำเลยจึงยิงขณะชุลมุนนั้น
ไป ๑ นัด  ตาย  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ  ไม่มีความผิด

ฎีกาที่ ๙๔๓ /๒๕๐๘  คนร้ายจูงกระบือออกจากใต้ถุนบ้านแล้ว มีปืนลูกซองมาด้วย
จำเลยร้องถามแล้ว คนร้ายหันปืนมาทางจำเลย   จำเลยยิงสวนทันที 
ศาลฎีกาบอกว่า   คนร้ายหันปืนมาแล้ว  อาจยิงได้  และถ้าจำเลยไม่ยิง คนร้ายก็อาจเอา
กระบือไปได้  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่ ๑๒๕๖ /๒๕๓๐   คนตายบุกรุกเข้าไปฉุดลูกสาวในบ้านจำเลย
เมื่อมารดาเด็กเข้าห้ามถูกคนร้ายตบหน้า  แล้วจะฉุดพาลูกสาวออกบ้าน
จำเลยยิงไปทันที ๔ นัด  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่  ๖๐๖ / ๒๕๑๐ คนตายเข้ามาชกจำเลย  จำเลยล้มลง  คนตายเงื้อมีด
จะเข้าไปแทง  จำเลยยิงสวน  เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
 
         เทียบกับ

ฎีกาที่ ๒๗๑๗/ ๒๕๒๘  คนตายยืนถือมีดอยู่ห่าง ๒ วา  ยังไม่อยู่ในลักษณะพร้อมที่
จะฟันทำร้ายจำเลย  การที่จำเลยด่วนยิงคนตายไปก่อน
เป็นป้องกันจริง  แต่เกินสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่  ๔๕๔๔ / ๒๕๓๑  คนตายบุรุกเข้าไปในบ้านจำเลยยามวิกาล
เมื่อจำเลยได้ยินเสียงผิดปกติ  คว้าปืนลงมาดู   คนตายยิงทันที
จำเลยยิงสวน  เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่  ๑๘๒ / ๒๕๓๒  ก.ถือไม้ไปที่บ้านจำเลย   ร้องท้าทายให้จำเลยมาสู้กัน
ก.เดินเข้าหาจำเลย  จำเลยตกใจกลัวว่า ก. จะเข้ามาเอาไม้ตีทำร้าย  จึงวิ่งไปเอาปืน
แล้วเล็งยิงไปที่ขา ก. รวม ๓ นัด  เมื่อรู้ว่ากระสุนถูกที่ขา ก. จำนวน ๑ นัด
จำเลยก็ไม่ยิงซ้ำ  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ


 คราวนี้มาดูกรณีที่ถือว่าเกินสมควรกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๒๙๘๓ / ๒๕๓๑   คนตายขับมอเตอร์ไซด์กลับบ้าน  พบจำเลยระหว่างทาง
จำเลยพูดทวงหนี้คนตาย  คนตายโกรธเคืองต่อว่าจำเลย  พร้อมเดินเข้าไปหาจำเลย
ด้วยมือเปล่าเพื่อจะทำร้าย   ระยะห่างประมาณ ๑ วา  จำเลยใช้ปืนยิง ๑ นัด
เป็นป้องกันตัวจากการจะถูกทำร้าย  แต่เกินกว่าเหตุเพราะคนตายมือเปล่า

ฎีกาที่  ๖๔ / ๒๕๑๕  ก.และ ข.มือเปล่าไม่มีอาวุธ เข้ารุมชกต่อยจำเลย
จำเลยใช้ปืนยิง  ในระยะติดพันกันนั้นรวม ๓-๔-๕ นัด  จน ก. ตาย 
เป็นป้องกันจริง   แต่เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๔๐๕ / ๒๔๙๐  จำเลยเฝ้าไร่พืชผัก   คนตายเข้าไปในไร่ เวลากลางวันเพื่อ
จะลักพืชผัก   จำเลยจึงใช้ปืนยิงคนตาย   เป็นป้องกันจริง    แต่เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๑๓๔๓ / ๒๔๙๕  ยิงคนร้ายขณะกำลังวิ่งหนีและพาเอาห่อของที่ลักไปด้วย
โดยคนร้ายไม่ได้ทำอะไรแก่ตนเลย   เป็นป้องกัน  แต่เกินสมควรแก่เหตุมาก

    ฎีกาที่ ๒๙๔ /๒๕๐๐  ยิงคนร้ายที่จูงกระบือในเวลากลางคืน  ตรงนั้นมืดมาก
  โดยคนร้ายไม่ได้แสดงกริยาต่อสู้  เป็นป้องกันที่เกินสมควรกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๒๗๑๗ / ๒๕๒๘  คนตายเข้ามาลักลอบตัดข้าวโพดในไร่จำเลย
ในตอนกลางคืน  โดยคนร้ายเอามีดมาด้วย  แต่ขณะที่จำเลยมาเห็น  คนตายยืนถือมีด
ห่างประมาณ   ๒  วา ยังไม่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะฟันทำร้าย   จำเลยด่วนยิง
จึงเป็นการป้องกันที่เกินกว่าเหตุ



       เรื่องนี้เป็นปัญหาขอเท็จจริง ที่จะพิจารณาว่าเข้าข้อกฎหมาย  หรือไม่.
       ข้อเท็จจริง คือเรื่องราวเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นผู้มีวิชาชีพกฎหมาย
       มีความรู้ทางกฎหมาย .. จึงจะมองแนวทาง ออกชัด . และให้ความเห็นเป็นแนวทางไว้.         
     
       ข้อเท็จจริง ที่อาจเข้าข้อกฎหมายในเรื่องกระทำพอสมควรก่อเหตุ..

       ๑. การกระทำในลักษณะสวนกลับ ในทันทีนั้น
           พฤติการณ์ จึงอาจเลือกได้ ความว่องไวแม่นยำ กับ หลบหลีกเข้าที่กำบัง แล้วสวนกลับ

       ๒. ได้กระทำตอบในลักษณะความรุนแรง เดียวกับภัยที่ถูกกระทำ เพื่อยุติภัยนั้น.
            ไม่ซ้ำถ้าคนร้ายหมดความสามารถแล้ว
       ๓. ได้กระทำกับอีกฝ่าย ที่ประเมินแล้ว ว่า เป็นโจร เป็นคนร้าย.
            เพราะตามพฤติการณ์ คนดี จะหลีกเลี่ยงไม่กระทำละเมิด หรือประทุษร้ายบุคคลอื่นก่อน   
ฎีกาที่ .๓๘๖๙ / ๒๕๔๖  คนตายปีนเข้าบ้านจำเลยตอนกลางคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ
ที่ปีนเข้ามา  เมื่อจำเลยตื่นมาเห็นย่อมทำให้สำคัญผิดว่าคนตายเป็นคนร้าย
และในขณะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าคนตายจะมีอาวุธหรือไม่  เพราะในห้องที่เกิดเหตุ
มืดมาก  และเป็นเวลากระทันหัน  หากจำเลยจะรอให้คนร้ายแสดงกริยาแล้วก็อาจจะถูก
ทำร้ายได้     การที่จำเลยใช้ปืนยิงไปเพียง ๑ นัด   คนตายร้องและล้มลง 
และจำเลยมิได้ยิงซ้ำแต่อย่างใด   จึงเป็นการป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

            ส่วนพวกที่ชอบรุมกินโต๊ะ ( สุนัขหมู่ ) ก็ระวังให้ดี

ฎีกาที่  ๖๐๗๗/๒๕๔๖  ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนดึกมากแล้ว  จำเลยคนเดียว
เข้าไประงับเหตุไม่ให้กลุ่มคนตายเป็นชาย ๓ คน ดื่มสุราและร้องเพลงส่งเสียงดัง
ภายในเขตวัด   แล้วเกิดโต้เถียงกัน   จำเลยถูกชาย ๓ คนรุมทำร้ายอย่างต่อเนื่อง
โดยไม่มีโอกาสตอบโต้คืน  และไม่อาจรู้ได้ว้าพวก ๓ คนมีอาวุธใดมาด้วยหรือไม่
จำเลยชักปืนที่พกมาด้วยยิงไปเพียง ๑ นัด ถูกคนตาย   ถือว่าป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
ไม่มีความผิด

ฎีกาที่ ๑๓๙๖ / ๒๕๑๔  ก.ใช้จอบตีทำร้ายจำเลยโดยจำเลยไม่ได้เป็นคนก่อเหตุก่อน
ถูกที่เหนือข้อศอกซึ่งยกขึ้นรับไว้ได้  จากนั้น ก.ยังใช้จอบฟันซ้ำอีก ๒ ที ถูกที่เหนือเข่า
จนจำเลยล้มลง    แล้วยังมีพวกของ ก. อีก ๒ คนถือขวานและมีดวิ่งเข้ามาด้วย
กริยาแสดงให้เห็นว่าจะมาช่วย ก. เล่นงานจำเลยให้อยู่  จำเลยจึงใช้ปืนลูกซองสั้น
ยิงไป ๑ นัดในทันทีนั้นเอง   เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ  ไม่มีความผิด




พอดีเปิดไปเจอมา ก็เลยก๊อป มาให้เพื่อนๆอ่านกัน... 

      พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ได้มีการแก้ไขฉบับสุดท้ายคือแก้ไขฉบับที่ 8 พ.ศ.2530 มาตราที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน มี 3 มาตรา คือ มาตรา 8 ทวิ เป็นเรื่อง ข้อห้าม ข้อจำกัดในเรื่องการพกปืน มาตรา 22 เป้นบทบัญญัติเรื่องการให้มีอาวุธปืนติดตัว มาตรา 72 ทวิ เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติในมาตรา 8

            การพกปืนไม่ผิดกฎหมายมีหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ

            1. เป็นอาวุธปืนของตนเองและได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ได้ตามกฎหมาย ( ป.4) อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคลนั้นผู้ใดประสงค์จะซื้อต้องปฏิบัติตาม กฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ต้องยืนคำร้อง ป.๑ มีใบอนุญาตให้ซื้อได้ตาม ป.3 และมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ป.4 กำหนดใช้ได้ 3 กรณี คือ สำหรับการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน สำหรับการกีฬา สำหรับการยิงสัตว์

            กรณีปืนเถื่อน คือ ปืนไม่มีทะเบียน มีโทษ จำคุก 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 20,000 บาท

            กรณีปืนผิดมือ คือ ปืนมีทะเบียน (ทะเบียนจะออกให้ผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ) แต่อยู่ในความครอบครองของคนอื่น มีโทษ จำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท

            2. ใบพกพา ทั่วราชอาณาจักร หรือ ในเขตจังหวัด ป.12 ผู้ใดประสงค์มีใบพกพาต้องยืนคำร้องแบบ ป.1 ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ใบพกจะออกให้ตามแบบ ป.12 บุคคลที่ควรออกใบอนุญาตให้มีใบพกนั้นนอกจากจะเป็นผู้มีใบป.4 แล้ว ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทย กำหนด ตัวอย่างเช่น เป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินของรัฐบาล ข้าราชการตั้งแต่ หัวหน้าแผนกหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้มีหน้าที่ในการปราบปรามหรือการปฏิบัติงานในการฝ่าอันตราย ข้อยกเว้นในการพกปืน ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสอง ถึงแม้ว่าจะมีใบอะไรต่อมิอะไรถูกต้องก็ตาม มีอยู่ 2 ประการคือ

            การพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผยเป็นที่ปรากฏต่อสายตา โดยไม่จำกัดว่าเป็นเวลาและสถานที่ใดก็เป็นการผิดกฎหมาย

            การพาอาวุธปืนไปในที่ชุมนุมชนที่มีลักษณะพิเศษ อันได้แก่ ชุมนุนชนที่ได้จัดให้กาขึ้นเพื่อนมนัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด แม้จะพกมิดชิดก็ตาม ยอมผิดกฎหมาย

            3. พกได้โดยมีข้อยกเว้นตามกฎหมายที่กำหนด ดังนี้

            มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ตัวอย่างเช่น ต้องขับไปส่งสินค้าต่างจังหวัด ซึ่งถือว่าต้องมีอาวุธปืนติดตัวไปได้ แต่ไม่อาจถือว่าเป็นการเร่งด่วน เพราะอ้างว่าจำเป็นป้องกันสินค้าของตนซึ่งอาจถูกปล้น กรณีดังกล่าวอาจมีการปล้นหรือไม่มีก็ได้ จึงถือว่าไม่เป็นกรณีเร่งด่วน ตัวอย่าง กรณี เพิ่งขายของได้เงิน 50,000 บาท และจำเป็นต้องนำเงินไปฝากไว้ธนาคาร และห่างจากบ้านราว 10 กม. เพื่อความปลอดภัยจากโจนปล้น ซึ่งในตามทางเคยมีการก่อคดีปล้นมาก่อน ได้พกปืนมีทะเบียน มีใบอนุญาตให้มีให้ใช้ และไม่มีใบอนุญาต พกติดตัวไปพร้อมกับเงินที่ต้องนำไปฝากธนาคารในวันนั้น ถือว่ากรณี นี้เป็นกรณีความจำเป็นและเร่งด่วนได้

            บันทึก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0503(ส)/27663 ลง 30 ก.ย.25 เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจค้นบุคคลพาพาอาวุธปืนไปที่สาธารณะ มีแนวทางในการสั่งไม่ฟ้อง ดังนี้

            ได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋าไว้ในช่องเก็บของท้ายรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด

            ได้นำอาวุธปืนใส่กระเป๋า ใส่กุญแจแล้ววางไว้ในรถซึ่งไม่สามารถหยิบใช้ได้ทันทีทันใด

            ไปเก็บเงินลูกค้าต่างจังหวัด นำอาวุธปืนติดตัวมาด้วย โดยแยกอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนออกจากกัน ใส่กระเป๋าเอกสารไว้นำไว้เบาะหลังรถยนต์

            ไปเก็บเงินลูกค้าต่างจังหวัดหลายหมื่นบาทนำติดตัวมา แล้วมีอาวุธปืนได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนแล้วใส่ไว้ในช่องเก็บของด้านหน้ารถ เพื่อป้องกันตัวและทรัพย์สิน

            ห่ออาวุธปืนและซองบรรจุกระสุน แยกคนละห่อเก็บไว้ในกระโปรงท้ายรถยนต์ซึ่งใส่กุญแจ

             ข้อยกเว้นเกี่ยวกับการเป็นเจ้าพนักงานบางประเภท ลูกจ้าง เจ้าพนักงานบางประเภท มีสิทธิพกพาอาวุธปืนได้ โดยไม่ต้องมีใบอนุญาต เช่น เจ้าหน้าที่ที่คอยรักษาความสงบเรียบร้อย ทหาร ตำรวจ ซึ่งขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ป้องกันทรัพย์สินที่สำคัญของรัฐ

              เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งพกพาอาวุธปืนไปไหนต่อไหนได้เห็นมีเพียง ทหารเหล่า สห. , เจ้าหน้าที่การเงิน โดยต้องแต่งเครื่องแบบประกอบ ทหารทีมีหน้าที่รักษาการณ์ ภายนอก ภายใน ออกทำการฝึก นอกนั้นไม่รอดตำรวจซักที


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

 
JUNCTION X © 2013. All Rights Reserved. Powered by Blogger
Top